อธิบายสรรพคุณและประโยชน์ของดอกดาหลา

Dahlia

ดอกดาหลา หรือ Etlingera elatior เป็นดอกไม้ที่มีสันสันสดใส มักนิยมนำมาใช้เพื่อประดับบ้าน แต่รู้ไหมว่านอกจากเรื่องนี้แล้ว ดอกยังสามารถนำมาทำอาหารได้ด้วย โดยเฉพาะเมนูอาหารทางใต้อย่าง “ข้าวยำปักษใต้” ก็ใส่ดอกดาหลานี่แหละ ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมชวนรับประทาน หรือจะเป็นเมนูบ้านๆ อย่าง น้ำพริก หรือ แกงจืด ไม่ว่าจะใส่อะไรก็ช่วยเพิ่มชูรสชาติให้กลมกล่อมมากยิ่งขึ้น บางคนก็นำดอกดาหลาไปทำเป็นยาน้ำสมุนไพร หรือน้ำยาทำความสะอาด ถือได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้เป็นอย่างดี

ลักษณะของดอกดาหลา

มันเป็นพืชในวงศ์เดียวกับ “Zingiberaceae” เช่นเดียวกับ ขิง ข่า และไพล เป็นไม้ที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มีใบที่โอบซ้อนกันคล้ายกับกล้วย กลีบดอกซ้อนกันเป็นชั้นๆ เรียงรายอย่างสวยงาม ลำต้นสูงได้ถึง 5 เมตร มีขนาดใบที่กว้างประมาณ 15 ซม.มักจะมีสีชมพู แต่สามารถพบเห็นได้ 5 สี ได้แก่ ขาว ชมพู บานเย็น แดง และแดง เป็นพืชที่นิยมปลูกกันมากในภาคใต้ โดยเฉพาะในจังหวัดตรัง

เพราะสามารถขยายพันธุ์ได้ง่าย ปลูกได้ทั้งในที่ร่มหรือกลางแจ้ง แต่ไม่ควรให้โดนแดดที่แรงมากจนเกินไป จะทำให้ดอกมีสีจางหรือไหม้ได้ ดอกดาหลาชอบความชื้นจึงต้องดูแลเรื่องน้ำเป็นสำคัญ ระยะเวลาในการเจริญเติบโตเต็มที่ประมาณ 1 ปี ถ้านำไปตัดขายจะมีราคาประมาณดอกละ 10 บาท ซึ่งดอกสามารถตัดขายได้ตลอดทั้งปี ช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม จะออกดกเป็นพิเศษ ในขณะที่ดอกจะสวยสดอยู่ได้ประมาณ 7 วัน

สรรพคุณทางยา

จากงานศึกษาพบว่าดอกดาหลานั้น มีสารประกอบที่สำคัญได้แก่ “Phenolics” และ “Flavonoids” พบอยู่มากในส่วนของใบ ดอก รวมถึงเหง้า โดยอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ โดยแต่ละส่วนของดอกดาหลานั้น จะให้สรรพคุณที่แตกต่างกันดังนี้

1.น้ำหอมระเหยในใบ มีฤทธิในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย

2.ช่อดอก ช่วยต้านทานความเป็นพิษในตับ ดอกดาหลาสามารถใช้เป็นยาขับลมได้ เพียงใช้กลีบดอกประมาณ 5 – 10 กลีบไปต้ม และจึงนำมาชงดื่มบ่อยเท่าที่ต้องการ

3.ใบ มีสารยับยั้งเอนไซม์ “Tyrosinase” เป็นเอนไซม์ที่ควบคุมการผลิตเมลานิน

4.เหง้า ช่วยต้านโรคมะเร็ง นอกจากนี้แล้วยังใช้รักษาโรคลมพิษ หรือโรคทางผิวหนังได้อีกด้วย โดยนำส่วนของเหง้ามาตำ ก่อนที่จะนำเหล้ามาผสม แล้วจึงนำไปคั้นเอาเฉพาะส่วนน้ำ ใช้ทาบริเวณที่เกิดลมพิษ

สำหรับคนทนี่มีอาการแพ้ “ขิง” หรือ “ข่า” ให้ระมัดระวังในการรับประทานดอกดาหลา เพราะเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน อาจก่อให้เกิดอาการแพ้เช่นเดียวกันได้